Wednesday, September 22, 2010

ประเพณี ห่อข้าวสาก

ประเพณีห่อข้าวสากของตำบลท่าเมือง การทำบุญข้าวสากเป็นประเพณีของชาวอีสาน "ตำบลท่าเมือง"ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย  นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 10 หรือ วันเพ็ญเดือนสิบ เป็นประจำทุกปี  ที่เรียกว่า บุญข้าวสาก เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ  อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำข้าวสากมีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ได้รับบุญกุศล ที่เกิดจากการทำบุญข้าวสากนี้ ก็จะอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่ง ที่ต้องการและปรารถนา ในการทำบุญข้าวสากนี้ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญชาวบ้าน จะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ  มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม ข้าวต้มหมัด และอาหารคาวหวานอื่นๆ ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ  ไว้สำหรับทำบุญ สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก  แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าเม่า ข้าวพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ ข้าวสากเป็นห่อข้าวเล็กๆทำจากใบตองกล้วยมีสองห่ออีกห่อหนึ่งจะเป็นห่อ หมากพู ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า เมี้ยง หมัดติดกันส่วนคำว่า สากคือ นำใบตองกล้วยมาทำเป็นเส้นๆแล้วหมัดหัว จากนั้นก็จะนำไปประกอบพิธี พอเสร็จพิธีก็จะนำข้าวสากไปว่างตามทุ่งนาของตัวเอง ในประเพณีบุญข้าวสาก ตำบลท่าเมืองได้จัดให้มีการถวายทาน รักษาศีล เพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศล ไปให้ปวงญาติที่ตายไปแล้ว และยังมีการฟังเทศน์ตลอดทั้งวันอีกด้วย โดยเรื่อง ที่นำมาเทศน์ส่วนมากเป็นเรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น และมีอิทธิพลต่อความเชื่อของคนท้องถิ่น ในลักษณะของการขัดเกลาจิตใจ และเร่งเร้าให้ทำคุณงามความดีในรูปแบบต่างๆ เช่น เรื่องมโหสถ พระเจ้าสิบชาติ ท้าวกำกาดำ เป็นต้น บุญเดือนสิบหรือบุญข้าวสากถือได้ว่าเป็นประเพณีอันดีงามของคนอีสาน" ตำบลท่เมือง " อ.ดอนมดแดงได้พึ่งปฏิบัติกันมาช้านาน
รูปภาพประกอบ
IMAG0011
IMAG0015 ประเพณีห่อข้าวสาก
บุญข้าวสาก ประเพณีบุญข้าวสาก 
                 อันนี้คือ ข้าว                                     อันนี้คือ สาก  รวบเป็น  ข้าวสาก

Tuesday, September 21, 2010

วัดชลธาร ตำบลท่าเมือง

IMAG0717 วัดชลธาร  “ตำบลท่าเมือง”  เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่น่าเที่ยวชม จากประวัติ ความเป็นมา สร้างเมื่อ  พศ.2418 ปัจจุบันได้ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้เหมาะกับการท่องเที่ยวดูสวยงามยิ่งขึ้นเพื่อรองรับประพณีท้องถิ่น สืบทอดกันมาช้านานเช่น ประเพณีแข่งเรือ บุญบั้งไฟ ไหลเรือไฟ เป็นต้น  พอถึงวันออกพรรษาก็มีงานใหญ่  บุญแข่งเรือ ออกพรรษาโดยจัดแข่งเรือ ที่ลำน้ำเซบก  เนื่องจากลำน้ำบริเวณนี้เป็นทางตรงทำให้เหมาะสม สำหรับการแข่งเรือตำบลท่าเมือง มีท่าน้ำใหญ่สองท่าคือ ท่าวัดเหนือ และ ท่าวัดใต้ ที่มีพื้นที่ท่าน้ำที่กว้างขวาง ซึ่งบ้านท่าเมืองนั้นได้แบ่งเป็นสองหมู่ คือหมู่ 1 ท่าเมืองใต้  หมู่ 9  ท่าเมืองเหนือ และยังมีโครงการของภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยในส่วนของโครงการต่างๆอีกด้วย เช่น โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ  และโครงการต่างๆอีกมากมาย ตำบลท่าเมืองหมู่บ้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมน้ำลำเซบก มีอยู่ 9 หมู่บ้าน ระยะห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 32 กิโลเมตร ตำบลท่าเมือง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอดอนมดแดง

สภาพทั่วไปของวัดชลธาร

ตำบลท่าเมือง ท้องถิ่นตำบลท่าเมือง วัดท่าเมือง

แข่งเรือตำบลท่าเมือง  บ้านท่าเมือง

 วัดตำบลท่าเมือง IMAG0728    IMAG0731

thamuang  ท่าเมืองหมู่1