Saturday, November 13, 2010

บุญกฐินวัดป่าหนองไฮ

IMAG0149 พิธีทอดกฐินเป็นงานบุญที่มีปีละครั้งที่วัดป่าหนองไฮ “ตำบลท่าเมือง” ซึ่งมีผู้ใจบุญมาร่วมทั่วสาระทิศ เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม การทอดกฐินครั้งนี้มีผู้ร่วมถวายปัจจัยถึง 800,000 กว่าบาท  กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
      การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อม ทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้ กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก

IMAG0145 IMAG0150

IMAG0135 IMAG0142

IMAG0134 IMAG0154

IMAG0141 IMAG0146

Saturday, October 30, 2010

พิธีเปิดการแข่งขันเรือพายตำบลท่าเมือง

ตำบลท่าเมือง ชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันกับสายน้ำมานานเพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในการใช้สอย ดื่มกิน และสัญจรไปมา จนกระทั่งการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสังเกตุได้จากการตั้งราชธานีทุกแห่งจะอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำสายใหญ่ จึงทำให้เกิดประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวกับสายน้ำขึ้น เช่น ประเพณีการแข่งเรือของ"ตำบลท่าเมือง" ประเพณีแข่งเรือเก้าฝีพายได้ถูกจัดขึ้น ณ ลำเซบกทุกปี ในระยะหลังเทศกาลออกพรรษาประมาณปลายเดือนตุลาคมนอกจากเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และเพื่อเชื่อมความสามัคคีแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการแข่งเรือประจำตำบลทางภาคอีสานในงานจะมีการแข่งขันเรือรอบนอกและรอบในรอบนอกหมายถึงเรือที่มาจากที่อื่นๆส่วนรอบในหมายถึงในเขตตำบลท่าเมืองมีผู้เข้าร่วมให้ความสนับสนุนมากมาย ทั้งภาครัฐและเอกชนนำโดย ส.ส.ดร.ศุภชัย ศรีหล้า ประธานพิธีเปิดงานพร้อมถ้วย คณะท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นถ้วยรางวัลชนะเลิศ และรางวัลอีกมากมาย 
IMAG0042  พิธีเปิด
                       ท่าน  ส.ส.ดร.ศุภชัย ครีหล้า ทำพิธีเปิดงานพร้อมคณะ
IMAG0046  IMAG0062
 IMAG0056  IMAG0045 IMAG0069IMAG0052 IMAG0059IMAG0080
 IMAG0087 IMAG0089
IMAG0051 IMAG0078
IMAG0097 IMAG0075
IMAG0110 IMAG0072
                                         ดารานักร้องจากค่าย RS  X-E-4
IMAG0104 IMAG0106
IMAG0105 IMAG0115
                                                     จุดสตาร์ดเรือ
IMAG0117 IMAG0120
IMAG0129 IMAG0109
IMAG0113 IMAG0114

Thursday, October 28, 2010

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี

ตำบลท่าเมือง ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพทอดฐินสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าหนองไฮ 99  หมู่9บ้านท่าเมือง "ตำบลท่าเมือง "  อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 เวลา 09.00 น.ตามกำลังศรัทธากองละ 1,000 บาท จำนวน 553 กอง มีผ้าให้พร้อมถวาย เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้บำเพ็ญบุญบารมีร่วมกัน วันเสารืที่ 13 จัดตั้งกองกฐินที่วัดป่าหนองไฮ เวลา 10.00 น. และรวมกันที่ลานธรรมนั้งสมาธิทำวัตรเย็นและฟังเจริญพระพุทะมนต์ เวลา 18.00 น. วันอาทิตย์ที่ 14 รวมกันที่ลานธรรมเพื่อร่วมพิธี เวลา 07.30 น.และเวลา 09.00 น.ร่วมกันทอดกฐินและถวายภัตตาหาร พระสงห์อุปโลกน์กฐิน จึงขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานบุญในครั้งนี้โดยพร้อมเพียงกัน ติดต่อร่วมเป็นเจ้าภาพกองกฐินสามัคคี โทร.080 1666221

IMAG0153    IMAG0162

IMAG0149 IMAG0151

IMAG0160 IMAG0167

Saturday, October 9, 2010

กำหนดการแข่งเรือ

ตำบลท่าเมือง กำหนดการ แข่งเรือประเพณีตำบลท่าเมืองในวันที่ 30-31 ตุลาคม 2553 ซึ่งทางตำบลท่าเมืองได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ฝ่ายสนับสนุนนั้นก็จะมีทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นรางวัลให้กับฝีพายที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศ เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันตั้งวันที่ 4-20 ตุลาคม เรือที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีฝีพายในลำเรือไม่เกิน 9 คน แต่ไม่น้อยกว่า 7 คน และจะมีการจับฉลากประกบคู่แข่งขันในวันที่ 22 ตุลาคม ประเภทเรือที่เข้าแข่งขัน 9 ฝีพายภายในตำบล 9 ฝีพายทั่วไป 9 ฝีภายสตรี และเรือสวยงาม ส่วนรางวัล ชนะเลิศในตำบล 7,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล ทั่วไป 5,000 บาทพร้อมถ้วยรางวัล เรือสตรี 3,000 บาทพร้อมถ้วยรางวัล เรือสวยงาม 1,000 บาทพร้อมถ้วย ส่วนรางวัลรองชนะ ที่ 1,2,3 ลดตามส่วน ประเภทเรือสวยงามอาจจะมีรางวัลชมเชย ค่าสมัครลำละ 500 บาท เรือในตำบลท่าเมืองไม่จำกัดลำ เรือรอบนอกไม่เกิน 36 ลำในส่วนระเบียนการติดต่อได้ที่ทำการ อบต.ท่าเมือง
ประเพณีตำบลท่าเมือง

Wednesday, September 22, 2010

ประเพณี ห่อข้าวสาก

ประเพณีห่อข้าวสากของตำบลท่าเมือง การทำบุญข้าวสากเป็นประเพณีของชาวอีสาน "ตำบลท่าเมือง"ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย  นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 10 หรือ วันเพ็ญเดือนสิบ เป็นประจำทุกปี  ที่เรียกว่า บุญข้าวสาก เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ  อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำข้าวสากมีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ได้รับบุญกุศล ที่เกิดจากการทำบุญข้าวสากนี้ ก็จะอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่ง ที่ต้องการและปรารถนา ในการทำบุญข้าวสากนี้ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญชาวบ้าน จะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ  มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม ข้าวต้มหมัด และอาหารคาวหวานอื่นๆ ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ  ไว้สำหรับทำบุญ สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก  แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าเม่า ข้าวพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ ข้าวสากเป็นห่อข้าวเล็กๆทำจากใบตองกล้วยมีสองห่ออีกห่อหนึ่งจะเป็นห่อ หมากพู ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า เมี้ยง หมัดติดกันส่วนคำว่า สากคือ นำใบตองกล้วยมาทำเป็นเส้นๆแล้วหมัดหัว จากนั้นก็จะนำไปประกอบพิธี พอเสร็จพิธีก็จะนำข้าวสากไปว่างตามทุ่งนาของตัวเอง ในประเพณีบุญข้าวสาก ตำบลท่าเมืองได้จัดให้มีการถวายทาน รักษาศีล เพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศล ไปให้ปวงญาติที่ตายไปแล้ว และยังมีการฟังเทศน์ตลอดทั้งวันอีกด้วย โดยเรื่อง ที่นำมาเทศน์ส่วนมากเป็นเรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น และมีอิทธิพลต่อความเชื่อของคนท้องถิ่น ในลักษณะของการขัดเกลาจิตใจ และเร่งเร้าให้ทำคุณงามความดีในรูปแบบต่างๆ เช่น เรื่องมโหสถ พระเจ้าสิบชาติ ท้าวกำกาดำ เป็นต้น บุญเดือนสิบหรือบุญข้าวสากถือได้ว่าเป็นประเพณีอันดีงามของคนอีสาน" ตำบลท่เมือง " อ.ดอนมดแดงได้พึ่งปฏิบัติกันมาช้านาน
รูปภาพประกอบ
IMAG0011
IMAG0015 ประเพณีห่อข้าวสาก
บุญข้าวสาก ประเพณีบุญข้าวสาก 
                 อันนี้คือ ข้าว                                     อันนี้คือ สาก  รวบเป็น  ข้าวสาก